ฉีดวัคซีนฟรี
MED4U

ปวดกล้ามเนื้อ

71 จำนวนผู้เข้าชม |

08/12/2023


ปวดกล้ามเนื้อ

          ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain หรือ Myalgia) คืออาการปวดที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบางส่วนหรือทุกส่วนของร่างกาย เกิดจากหดตัวของกล้ามเนื้อ อาจเกิดร่วมกับการมีภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อ ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยมากมักมีสาเหตุจากการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป กล้ามเนื้อมีภาวะตึงเครียด บาดเจ็บหรือเคล็ด หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อยืดเนื่องจากออกแรงมากเกินไป อาการปวดกล้ามเนื้อยังอาจเกิดจากความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง เช่น polymyositis, dermatomyositis และ lupus การติดเชื้อแบคทีเรียหรือพยาธิที่กล้ามเนื้อ เช่น ฝีจากเชื้อ Staphylococcus ที่กล้ามเนื้อ, trichinosis และการติดเชื้อทั่วไป เช่นไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย Rocky Mountain spotted fever โปลิโอ โรคฉี่หนู หัด และไข้รูมาติก อาการปวดกล้ามเนื้อมักหายเองหลังจากได้พักการใช้งานกล้ามเนื้อนั้นๆ อย่างไรก็ตามอาการปวดกล้ามเนื้อที่เป็นอยู่นานหรือกลับเป็นซ้ำต้องได้รับการดูแลทันที เนื่องจากอาจเป็นเพราะมีโรคอื่นที่แฝงอยู่

ควรไปพบแพทย์เมื่อ

  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อนานกว่า 3 วัน
  • มีอาการปวดที่รุนแรงโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด
  • มีอาการติดเชื้อ เช่น บวมหรือแดงรอบ ๆ กล้ามเนื้อที่ปวด
  • มีการไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดีในบริเวณที่มีการปวด
  • เกิดจากเห็บกัด หรือมีผื่นเกิดขึ้น
  • เริ่มมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่สัมพันธ์กับการเริ่มใช้ยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยา เช่น ยาในกลุ่ม statin

คำแนะนำผู้ป่วย

การป้องกัน

  • ควรอบอุ่นร่างกาย ยืดเส้นยืดสายก่อนออกกำลังกาย เช่น การว่ายน้ำหรือการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก เพื่อป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ
  • ควรศึกษาวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องหรือขอคำปรึกษาจากผู้ฝึกสอนการออกกำลังกายมืออาชีพ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมและการยกของหนักในขณะที่บาดเจ็บหรือเมื่อมีอาการปวด
  • หากต้องอยู่ในอิริยาบถเดิมนาน ๆ ควรลุกขึ้นยืดเส้นยืดลายทุกๆ ชั่วโมง

การจัดการ

·      ใช้หลักการ PRICE

·      Protect คือเมื่อรู้สึกว่ามีอาการเจ็บให้หยุดเล่นทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่จะมากขึ้น

·      Restrict คือเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บ ควรนั่งพักและให้อวัยวะส่วนนั้นเคลื่อนไหวน้อยที่สุดอย่างน้อย 72 ชั่วโมง

·      Ice/cool คือการใช้ความเย็นประคบบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บเพื่อลดความบวมแดงร้อน

·      Compress คือการยึดหรือรัดบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บหลังการประคบเย็น เพื่อลดอาการบวม

·      Elevate คือการยกอวัยวะส่วนที่บาดเจ็บสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก ลดอาการบวม

 การส่งต่อแพทย์

  • อาการปวดรุนแรงหรือหาสาเหตุไม่ได้
  • อาการปวดเกิดขึ้นนานกว่า 3 วัน แม้จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามหลัก PRICE แล้ว
  • มีอาการแดงหรือบวมบริเวณที่ปวด
  • มีผื่นขึ้น
  • อาการปวดเกิดขึ้นภายหลังเริ่มใช้ยาหรือเปลี่ยนยา

ทางเลือกในการรักษา

ยาแก้ปวด (Analgesics)

  • ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์อ่อน เช่น paracetamol รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ใช้บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้
  • ครีมทาภายนอก เช่น capsaicin มีประโยชน์ ในการบรรเทาอาการปวดจากปลายประสาทอักเสบ (neuritis) เช่น รู้สึกมีอาการชา รู้สึกเหมือนผิวหนังไหม้ หรือปวดแบบแปล๊บ ๆเหมือนโดนเข็มเล็ก ๆ ทิ่ม และผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องทาวันละหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการครีม capsaicin ประกอบด้วยสารสกัดจากพริก ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการส่งสัญญาณของเส้นประสาทบริเวณที่ทายาจึงลดอาการปวดได้
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม opioids เช่น tramadol อาจใช้ในการลดอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง หรือกรณีที่ไม่สามารถใช้ยากลุ่ม NSAIDs ได้ เช่น มีประวัติแพ้ยาหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่ม opioids นี้ควรได้รับการประเมินและติดตามการใช้ยาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

  • Nonsteroidal anti-inflammatory Drugs (NSAIDs) เป็นยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อลดอาการปวด บวมของข้อ โดยการยับยั้งการสร้าง prostaglandin ยาในกลุ่มนี้มักก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ระคายเคืองหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยบางราย ดังนั้นการใช้ยาในกลุ่มนี้ ควรได้รับการประเมินอย่างเหมาะสมโดยแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

·        ขนาดและวิธีการบริหารยา (Dosage & Administration):

 

ยา

ขนาดยารับประทานในผู้ใหญ่

ยา

ขนาดยารับประทานในผู้ใหญ่

Loxoprofen

D: 60 มก. วันละ 3 ครั้ง หรือ 120 มก.วันละครั้ง 

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Aspirin

D: 300-900 มก. ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุด: 4,000 มก.

ต่อวัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Mefenamic acid

D: 250-500 มก. วันละ 3 ครั้ง

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Meloxicam

D: Tab: 7.5 -15 มก. วันละครั้ง ขนาดยาสูงสุด: 15 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีหากมีอาการระคาย

เคืองกระเพาะอาหาร

Diclofenac

D: Tab: 50 มก. วันละ 2-3 ครั้ง

DR tab: 75-100 มก./วัน

แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง

ER tab: 75 มก. วันละ 1-2 ครั้ง 100 มก. วันละ 1 ครั้ง ขนาดยาสูงสุด: 150 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Nabumetone

D: 1,000 มก. วันละครั้ง โดยอาจรับประทานเพิ่มอีก 500-1,000 มก. ในตอนเช้า หากมีอาการปวดเพิ่มเติม ขนาดยาสูงสุด: 2,000 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที เพื่อลดการระคาย

เคืองกระเพาะอาหาร

Etodolac

D: Cap: 200 มก. ทุก 6-8 ชั่วโมง หรือ 400 มก. ทุก 12 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด: 1,000 มก. ต่อวัน

ER tab: 400-800 มก. วันละครั้ง

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Naproxen

D: 250-500 มก. วันละ 2 ครั้ง

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Fenbufen

D: 900 มก./วัน โดยอาจแบ่งเป็น 300 มก. ตอนเช้า และ 600 มก. ตอนเย็น

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Piroxicam

D: 10-20 มก. วันละครั้ง ขนาดยาสูงสูต: 20 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Floctafenine

D. 200-400 มก. ทุก 6-8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุด 1,200 มก./วัน

Proglumetacin

D: 150-300 มก. วันละ 2 ครั้งขนาดยาสูงสุด 600 มก./วัน

 

 A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Flurbiprofen

D: 50 มก. วันละ 2-4 ครั้ง หรือ 100 มก. วันละ 2 ครั้ง ขนาดยาสูงสุด : 300 มก./วัน (เฉพาะกรณีจําเป็นเท่านั้น)

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Sulindac

D: 150-200 มก. วันละ 2 ครั้ง ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

 

A:รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Ibuprofen

D: Tab/cap: 400-800 มก. วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดยาสูงสุด: 3,200 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Tenoxicam

D: 20 มก. วันละครั้ง

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Indometacin

D: Cap: 25 มก. วันละ 2-3 ครั้ง อาจพิจารณาเพิ่มขนาดยา ครั้งละ 25-50 มก. เว้นระยะห่างประมาณ 1 สัปดาห์ต่อการ ปรับแต่ละครั้ง จนได้ขนาดยา 150-200 มก./วัน ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Tiaprofenic Acid

D: 200-300 มก. วันละ 2-3 ครั้ง ขนาดยาสูงสุด: 600 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

Ketoprofen

D: Cap: 100 มก. วันละ2 ครั้ง ขนาดยาสูงสุด: 300 มก./วัน

PR cap:100 -200 มก. วันละครั้ง ขนาดยาสูงสุด: 200 มก./วัน

 

A: รับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันที

 

D-dosage (ขนาดยา) A-administration (วิธีการบริหารยา) DR-delayed release ER-extended-release PR-prolonged release Tab-tablet(s) DR Tab-delayed release tablet(s) PR Cap-prolonged release capsule(s) Cap-capsule(s) มก. -มิลลิกรัม

 

  • คำแนะนำ
    • ยาในกลุ่มนี้ ควรพิจารณาหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีแผลในทางเดินอาหาร หรือมีอาการอักเสบของทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโรคหืดมีประวัติแพ้ยากลุ่ม NSAIDs หรือ aspirin หรือเคยได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไตวาย และโรคตับวาย
    • ยากลุ่ม salicylates เช่น aspirin ควรระมัดระวังการใช้ในเด็ก เนื่องจากอาจก่อให้เกิด Reye’s syndrome ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้
  • ยากลุ่ม Selective cyclooxygenase-2 (COX-2) inhibitors เช่น celecoxib และ etoricoxib มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการปวดในโรคข้อเสื่อมและโรคข้อรูมาตอยด์
    • ขนาดยาและวิธีการบริหารยา 

(Dosage and Administration) :

ยา

ขนาดยารับประทานในผู้ใหญ่

ยา

ขนาดยารับประทานในผู้ใหญ่

Lecoxib

D: 200 มก. วันละ1-2 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 400 มก./วัน

 

A: อาจรับประทานตอนท้องว่างหรือหลังอาหารได้

Etoricoxib

D: 30-90 มก. วันละครั้ง

 

A: อาจรับประทานตอนท้องว่างหรือหลังอาหารได้

D-dosage (ขนาดยา) A-administration (วิธีการบริหารยา) มก.-มิลลิกรัม

 

·      ยากลุ่ม NSAIDs และ selective COX-2 Inhibitors มีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือดแดง ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงยังทำให้เกิดแผลหรือเลือดออกในทางเดินอาหารได้

  • การใช้ยาแก้ปวดร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น การใช้ paracetamol ร่วมกับ ibuprofenจะเสริมฤทธิ์กันในการบรรเทาปวด ช่วยให้อาการปวดกล้ามเนื้อทุเลาเร็วขึ้น
  •  ยากลุ่ม NSAIDs ในรูปยาทาภายนอก เช่น diclofenac, ibuprofen, indomethacin, ketoprofen และ piroxicam ใช้แก้ปวดและต้านการอักเสบสำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อควรหลีกเลี่ยงการทายาปริมาณมากเนื่องจากอาจทำให้ยาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้

 

ยาอื่น ๆ ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

  • ยากลุ่ม salicylates ชนิดใช้ภายนอก เช่น diethylamine salicylate, methylsalicylates และ glycol salicylate มักใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น menthol, eucalyptol หรือ camphor ทาถูบริเวณที่ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมเฉพาะที่

ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants)

  • ยาคลายกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์ต่อระบบส่วนกลาง (Central acting muscle relaxants) เช่น baclofen, eperisone, tizanidine และ tolperisone ใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว ยาเหล่านี้อาจใช้ร่วมกับยาบรรเทาปวดอื่นๆ หรือ NSAIDs และควรได้รับการแนะนำจากแพทย์เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
  • Orphenadrine มีฤทธิ์ antimuscarinic จึงมักใช้บรรเทาอาการปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง การรับประทานยากลุ่มนี้อาจทำให้มีอาการง่วงนอนได้

 

© 2024 Company, Inc