ฉีดวัคซีนฟรี
MED4U

โรคน่ารู้


แผลในทางเดินอาหาร

แผลในทางเดินอาหารเกิดขึ้นจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อในทางเดินอาหาร ในกรณีที่มีการระคายเคืองไม่มากอาจทำให้เกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการแผลในทางเดินอาหารกำเริบและแสดงอาการได้แก่ ความเครียด อาหารรสเผ็ด หรือเปรี้ยวจัด การป้องกันปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร


อาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยจะมีอาการจุกเสียด แน่นท้อง ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารมากเกินไป หรือเร็วเกินไป การรับประทานอาหารที่มัน เลี่ยน อาหารรสเผ็ดจัด รวมทั้งมีภาวะเครียด การป้องกันปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ


อาการแสบร้อนกลางอก

อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกแสบร้อนหรือจุกเสียดแน่นบริเวณช่องท้องส่วนบน (ลิ้นปี) ซึ่งลามขึ้นไปถึงกึ่งกลางหน้าอกด้านหลังกระดูกอกและบางครั้งก็ขึ้นไปถึงลำคอ คำแนะนำผู้ป่วยปรับปรุงนิสัยในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เครื่องเทศ ช็อกโกแลต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ และชา รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์


โรคอุจจาระร่วง

เป็นภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวและบ่อยผิดปกติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย อาจเกิดจากการเปลี่ยนชนิดอาหารที่รับประทาน การป้องกันหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด จะช่วยกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียที่ติดมากับมือและระมัดระวังในการบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหาร โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค


ท้องผูก

การขับถ่ายของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันและมีลักษณะเป็นปกติของตนเอง ซึ่งอาจมีความถี่ได้ตั้งแต่ 2-3 ครั้งต่อวัน ไปจนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ดังนั้นหากความถี่ของการขับถ่ายลดลงหรือห่างมากกว่าเดิมจะเรียกภาวะนี้ว่า ท้องผูกทำให้อุจจาระมีการสะสมในลำไส้มากขึ้น ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้ลำไส้อุดตันได้ คำแนะนำผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้ท้องผูก พยายามกำหนดเวลาในการขับถ่าย


การคุมกำเนิด

การป้องกันการตั้งครรภ์สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีธรรมชาติจนถึงการผ่าตัด ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การคุมกำเนิดบางวิธียังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ คำแนะนำผู้ป่วยสามารถใช้การคุมกำเนิดหลายวิธีร่วมกันเพื่อให้มีประสิทธิภาพ สตรีควรได้รับการตรวจกรองเบื้องต้น ก่อนเริ่มรับประทาน ยาเม็ดคุมกําเนิด


ตกขาว

การมีสารคัดหลั่งสีเหลืองหรือเขียวไหลออกมาทางช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นภาวะปกติหรือเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้ โดยการตกขาวที่เป็นลักษณะปกติมักจะสัมพันธ์กับช่วงเวลาในรอบประจำเดือน ในขณะที่การตกขาวที่ผิดปกติมักจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อในช่องคลอดหรืออวัยวะเพศของผู้หญิง คำแนะนำผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศด้วยน้ำเปล่าและสบู่


ข้อเสื่อม

เป็นภาวะการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่บุอยู่บนผิวข้อต่อกระดูกเกิดจากใช้งานข้อมากเกินไป หรือใช้ผิดวิธี หรือข้อเสื่อมจากอายุมากขึ้น พบมากในผู้ป่วยเพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เคยมีประวัติการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อ การใช้ข้อซ้ำๆ อยู่นานๆ


ปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบางส่วนหรือทุกส่วนของร่างกาย เกิดจากหดตัวของกล้ามเนื้อ อาจเกิดร่วมกับการมีภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อร่วมด้วยโดยมากมักมีสาเหตุจากการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป กล้ามเนื้อมีภาวะตึงเครียด บาดเจ็บหรือเคล็ด หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อยืดเนื่องจากออกแรงมากเกินไป อาการปวดกล้ามเนื้อยังอาจเกิดจากความผิดปกติต่าง ๆ

© 2024 Company, Inc